บริการวิชาการด้านวิทยาศาสตร์การกีฬา

การทดสอบสมรรถภาพทางการ
การทดสอบสมรรถภาพทางการ
การทดสอบสมรรถภาพทางการ

สมรรถภาพทางกายโดยทั่ว ๆ ไปนั้นจะดีขึ้นตั้งแต่วัยเด็กเรื่อยมาจนถึงจุดสูงสุดและเริ่มลดลงเมื่อมีอายุมากขึ้น ดังนั้นการมีสุขภาพดีเป็นสิ่งที่บ่งบอกหรือเป็นพื้นฐานของการมีสมรรถภาพทางกายที่ดี  เช่นกันซึ่งสมรรถภาพทางกายเป็นสิ่งที่แสดงถึงความสามารถของร่างกายในการที่จะประกอบกิจกรรมต่าง ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากน้อยเพียงใด

ความหมายของสมรรถภาพทางกาย
สมรรถภาพทางกาย หรือ ความฟิต หมายถึง ความสามารถของบุคคลในอันที่จะใช้ระบบต่าง ๆ กระทำกิจกรรมใด ๆ อันเกี่ยวกับการแสดงออก ซึ่งความสามารถทางด้านร่างกายได้อย่างมีประสิทธิภาพหรือได้หนักหน่วง เป็นเวลาติดต่อกันโดยไม่แสดงอาการเหน็ดเหนื่อยให้ปรากฏ และสามารถฟื้นตัวกลับสู่สภาพปกติได้ในระยะเวลาอันรวดเร็ว ผู้ที่มีสมรรถภาพร่างกายที่ดีมักจะเป็นผู้ที่มีสุขภาพร่างกายแข็งแรง จิตใจร่าเริงแจ่มใส บุคลิกดี ความมั่นใจตัวเองสูง และทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ

สมรรถภาพทางกายทั่วไป  (General Physical  fitness)
ตามมาตรฐานการทดสอบความสมบูรณ์ทางด้านร่างกาย ได้จำแนกการทดสอบออกเป็น 7 ประเภท คือ

  1. ความเร็ว (Speed) คือ ความสามารถของร่างกายในการเคลื่อนที่จากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่ง  โดยมีระยะเวลาในการเคลื่อนที่เข้ามาเกี่ยวข้องซึ่งต้องใช้ระยะเวลาให้น้อยที่สุด
  2. พลังกล้ามเนื้อ (Muscle Power) คือ ความสามารถในการทำงานของกลุ่มกล้ามเนื้อ (การยืดและหดตัวของกล้ามเนื้อ) ในการออกแรงสูงสุด ซึ่งกระทำในระยะเวลาที่สั้น และไม่เกิดความเมื่อยล้า หนึ่งครั้ง เช่น ยืนกระโดดไกล
  3. ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ (Muscle Strength) คือ ความสามารถในการทำงานของกลุ่มกล้ามเนื้อในการออกแรงสูงสุด โดยกล้ามเนื้อที่หดตัวเพียงครั้งเดียวโดยไม่จำกัดเวลา เช่น การยกน้ำหนัก  เป็นต้น
  4. ความอดทนของกล้ามเนื้อ (Muscle endurance) คือ  ความสามารถของกล้ามเนื้อในการทำงานโดยมีการหดตัวได้ซ้ำ ๆ เพื่อต่อต้านกับแรงต้านทานขนาดปานกลางได้นาน
  5. ความคล่องตัว (Agility) คือ ความสามารถของร่างกายในการเคลื่อนที่หรือเคลื่อนไหวได้ในระยะเวลาที่สั้นที่สุด โดยมีการควบคุมในการเปลี่ยนทิศทางของการเคลื่อนที่ได้ด้วยความรวดเร็วและแน่นอน
  6. ความอ่อนตัว (Flexibility) คือ  ความสามารถในการเคลื่อนไหวตลอดช่วงของการเคลื่อนไหวของข้อต่อ
  7. ความอดทนทั่วไป (General endurance)  คือ ความสามารถในการทำงานของระบบต่าง ๆ  ในร่างกายที่ทำงานได้นานและมีประสิทธิภาพ เช่น ระบบหัวใจไหลเวียนเลือดเป็นต้น

ความสําคัญของการเสริมสร้างสมรรถภาพทางกาย
สมรรถภาพทางกายเป็นสิ่งสําคัญ ในการเสริมสร้างบุคคลให้สามารถประกอบภารกิจและตํารงชีวิตได้อย่างมีประสิทธิภาพ มีความคล่องแคล่ว ว่องไว เกิดพัฒนาการด้านอารมณ์ และจิตใจที่ดี ความสมบูรณ์ของร่างกายและจิตใจ มีความสัมพันธ์กัน เมื่อสุขภาพร่างกายสมบูรณ์แล้วสุขภาพจิตใจย่อมดีตามไปด้วย

สมรรถภาพทางกายที่ดีทําให้ประสิทธิภาพของระบบต่างๆ ในร่างกายทํางานได้ดีขึ้น มีความต้านทาน โรครูปร่างและสัดส่วนของร่างกายดีขึ้น การทํางานมีประสิทธิภาพมีบุคลิกภาพที่ดี สามารถเคลื่อนไหวได้ ด้วยความสง่างาม

สมรรถภาพทางกายพิเศษ (Special Physical Fitness) เป็นความสามารถใน การทํางานเฉพาะอย่างของกลไกในร่างกายที่มีประสิทธิภาพ ได้แก่

  1. การทรงตัว (Balance) เป็นการรักษาสมดุลของร่างกายในขณะอยู่กับที่หรือ เคลื่อนไหว
  2. กําลัง (Power) เป็น การเคลื่อนไหวร่างกายทันทีทันใด โดยที่ร่างกายใช้แรง จํานวนมาก
  3. ความคล่องแคล่ว (Agility) เป็นการเปลี่ยนทิศทางอย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ ร่างกายสามารถควบคุมการเคลื่อนไหวได้
  4. ความเร็ว เป็นความสามารถ ในการเคลื่อนไหวร่างกายอย่างรวดเร็วจากที่หนึ่งไปยัง อีกที่หนึ่ง
  5. เวลาเคลื่อนไหว เป็นการเคลื่อนไหวส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกายจากจุดหนึ่งไปยัง อีกจุดหนึ่ง เช่น การวัดเวลาการเคลื่อนไหวของแขนกับหัวไหล่โดยการขวางลูกบอลให้ไกลที่สุด
  6. เวลาปฏิกิริยา เป็นระยะเวลาที่จําเป็นต้องใช้เคลื่อนไหว เพื่อการตอบสนองต่อ สิ่งเร้าเฉพาะอย่าง
  7. การทํางานประสานสัมพันธ์ เป็นการสั่งการของระบบประสาทและกล้ามเนื้อ ให้มีความสัมพันธ์กัน

เมื่อพิจารณาถึงสมรรถภาพทางกายภาพตลอดชั่วชีวิตของคนเรา พบว่า คนเรานั้นจะมีสมรรถภาพทางกายดีขึ้นจากวัยเด็กเรื่อย มาจนถึงจุดสูง สุดในช่วงอายุ 30 ปี  ต่อจากนั้นสมรรถภาพทางกายและวุฒิภาวะจะเริ่มลดลงตามลำดับ

การมีสุขภาพดีเป็นรากฐานของการมีสมรรถภาพทางกายที่ดี  ดังนั้น  มรรถภาพจึงเป็นตัวบ่งชี้ถึงความสามารถ ของร่างกาย ในการ ที่จะประ กอบ กิจกรรมต่าง ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากน้อยเพียงใด และเพื่อให้การออกกำลังกายมีประสิทธิภาพและตรงกับที่เราต้องการ เราควรทราบถึงระดับสมรรถภาพร่างกายของเราก่อนเพื่อที่จะได้ออกแบบวิธีการและแนวทางในการพัฒนาระบบต่าง ๆ ได้อย่างถูกต้อง

อ้างอิง
– วภราดา  กาไว.  (2561).  ความหมายและความสำคัญของสมรรถภาพทางกาย.  https://sites.google.com/site/6032040038thaksakarphathna/khwam-hmay-laea-khwam-sakhay-khxng-smrrthphaph-thang-kay.
สืบค้นเมื่อ 19 สิงหาคม 2565

– วภราดา  กาไว.  (2561).  ประเภทของสมรรถภาพทางกายและการทดสอบสมรรถภาพทางกาย.  https://sites.google.com/site/6032040038thaksakarphathna/prapheth-khxng-smrrthphaph-thang-kay-laea-kar-thd-sxb-smr-r.
สืบค้นเมื่อ 19 สิงหาคม 2565

– ยลวรณัฏฐ์ จีรัชตกรณ์.  (2564).  สมรรถภาพทางกาย (Physical fitness).  https://www.si.mahidol.ac.th/siriraj_online/thai_version/Health_detail.asp?id=1456.
สืบค้นเมื่อ 19 สิงหาคม  2565

เรียบเรียงข้อมูลโดย : นางสาวจุฑารัฐ  ไชยสาร  เจ้าหน้าที่บริหารงานทั่วไป  ฝ่ายวิทยาศาสตร์การกีฬาและสุขภาพ  ศูนย์ส่งเสริมวัฒนธรรมและการกีฬา

สมรรถภาพทางกายเป็นสิ่งสำคัญ  ในการช่วยเสริมสร้างให้บุคคลสามารถประกอบภารกิจและดำรงชีวิตอยู่อย่างประสิทธิภาพ  รวมทั้งทำให้บุคคลปราศจากโรคภัยไข้เจ็บ  และมีความแข็งแรง  ทนทาน  มีความคล่องแคล่วว่องไวที่จะประกอบภารกิจประจำวันให้ลุล่วงไปด้วยดี  นอกจากนี้  ยังก่อให้เกิดการพัฒนาทั้งทางด้านจิตใจและอารมณ์ควบคู่กันไปด้วย 

การทดสอบสมรรถภาพทางกาย (Physical Fitness Test)
หมายถึง การวัดและประเมินผล ความแข็งแรงสมบูรณ์ของร่างกายหรือสมรรถภาพทางกานในด้านต่างๆ เช่น ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ (Muscular Stremgth) ,ความอดทนของกล้ามเนื้อ (Muscular Endurance), ความเร็ว(Speed), ความคล่องแคล่วว่องไว(Agility), ความอ่อนตัว(Flexibility), ความอดทนของระบบไหลเวียนโลหิตและระบบหายใจ(Cardio respiratory Endurance) ฯลฯ เป็นต้น

ประโยชน์การทดสอบสมรรถภาพทางกาย
1.ผลที่ได้จากการทดสอบสามารถใช้เป็นแนวทางในการกำหนดรูปแบบและวิธีการออกกำลังกายที่เหมาะสมกับสภาพร่างกาย
2.ผลที่ได้จากการทดสอบทั้งก่อนและหลังการออกกำลังกายสามารถนำมาเปรียบเทียบเพื่อประเมินผลถึงความก้าวหน้า
3.ผลที่ได้จากการทดสอบสามารถนำไปวินิจฉัยเบื้องต้นถึงความบกพร่องทางด้านร่างกายที่มีแนวโน้มที่อาจจะเกิดปัญหาทางด้านสุขภาพ
4.ผลการทดสอบสมรรถภาพทางกายสามารถใช้เป็นแนวทางในการคัดเลือกนักกีฬาของผู้ฝึกสอนได้

แบบทดสอบสมรรถภาพทางกายมาตรฐานนานาชาติ(International Committee Standard of Physical Fitness Test : ICSPFT)
ประกอบด้วยรายการในการทดสอบย่อย 5 รายการ
1. วิ่งเร็ว 50 เมตร ( 50 Meter Sprint )  เมื่อให้สัญญาณเข้าที่ ให้ยืนให้ปลายเท้าข้างหนึ่งอยู่ชิดเส้นเริ่ม เมื่อได้ยินสัญญาณปล่อยตัว ให้วิ่งด้วยความเร็วเต็มที่จนผ่านเส้นชัย
2.ยืนกระโดดไกล(Standing Broads Sit-up )  วางไม้ทั้งสองท่อนกลางวงกลมที่อยู่ตรงข้ามกับเส้นเริ่ม ยืนให้ปลายเท้าข้างหนึ่งอยู่ชิดเส้นเริ่ม เมื่อได้รับคำสั่งว่า ไป ให้วิ่งไปหยิบท่อนไม้ท่อนหนึ่งมาวางที่วงกลมหลังเส้นเริ่ม แล้วกลับตัววิ่งไปหยิบท่อนไม้อีกท่อนหนึ่งมาวางไว้เช่นเดียวกับท่อนแรกแล้ววิ่งเลยไป ห้ามโยนท่อนไม้ หากวางไม่เข้าในวงกลม ให้เริ่มใหม่
3.  วิ่งเก็บของ 40 เมตร ( 40 Meter Shuttl Run )  ยืนที่เส้นเริ่มให้ปลายเท้าทั้งสองอยู่ชิดเส้นเริ่ม เหวี่ยงแขนทั้งสองไปข้างหลังพร้อมกับย่อเข่าและก้มตัว เมื่อได้จังหวะให้เหวี่ยงแขนไปข้างอย่างแรงพร้อมกับกระโดดด้วยเท้าทั้งสองข้างไปข้างหน้าให้ไกลที่สุด ใช้ไม้วัดทาบตั้งฉากกับขีดบอกระยะ หากมีการเสียหลักหงายหลังหรือมือแตะพื้นให้ทำใหม่
4. งอตัวไปข้างหน้า ( Trunk Forward Flexion )  ปลายเท้าทั้งสองอยู่ชิดขอบโต๊ะ ขาทั้งสองเหยียดตรง เอานิ้วหัวแม่มือทั้งสองเกี่ยวกันค่อย ๆก้มตัวลงข้างหน้า เหยียดแขนทั้งสองข้าง เลื่อนลงไปตามแนวไม้บรรทัดจนไม่สามารถก้มตัวต่อไปได้ ห้ามงอเข่าหรือเอียงตัวไปข้างใดข้างหนึ่งหรือก้มตัวแรง ๆ
5. วิ่งระยะไกล ( Distance Run ) 1,000 เมตร สำหรับชายอายุ 12 ปีขึ้นไป 800 เมตร สำหรับหญิงอายุ 12 ปีขึ้นไป  เมื่อให้สัญญาณ เข้าที่ ยืนให้ปลายเท้าข้างใดข้างหนึ่งชิดเส้นเริ่มเมื่อพร้อมแล้วให้สัญญาณ ไป ให้วิ่งไปตามเส้นทางที่กำหนดพยายามใช้เวลาน้อยที่สุด ควรรักษาความเร็วให้คงที่ ถ้าวิ่งไม่ไหวอาจหยุดเดินแล้ววิ่งต่อ หรือเดินต่อไปจนครบระยะทาง คนที่จับเวลาจะขานเวลาผู้ที่วิ่งถึงเส้นชัยทีละคน ให้บันทึกเวลาไว้ตามลำดับเป็นนาทีและวินาที

การทดสอบสมรรถภาพมีความจำเป็นอย่างมาก ดังนั้น หากต้องการทราบว่าสมรรถภาพทางกายอยู่ในระดับใด จึงต้องทำการทดสอบสมรรถภาพทางกาย เพื่อจะได้ทราบถึงความสามารถของร่างกายในแต่ละด้าน สามารถเลือกกิจกรรมการออกกำลังกายให้เหมาะสมกับสภาพร่างกาย ทำให้การพัฒนาสมรรถภาพทางกายมีประสิทธิภาพสูงสุด สามารถนำไปใช้ในการตรวจสอบความสามารถทางร่างกายของตนเองว่า ความสมบูรณ์แข็งแรงของร่างกาย ความสามารถทางกลไกการเคลื่อนไหว และการทำงานของระบบต่างๆ ของร่างกายอยู่ในระดับใด ซึ่งจะเป็นแนวทางที่จะนำไปใช้ในการปรับปรุงแก้ไข และสร้างเสริมความสมบูรณ์แข็งแรงให้กับร่างกาย ส่งผลให้บุคคลสามารถดำรงชีวิตและประกอบภารกิจในชีวิตประจำวันได้เป็นอย่างดีและมีประสิทธิภาพต่อไป

อ้างอิง
– สิรินธร น้ําใส.  (2559).  การทดสอบสมรรถภาพทางกายที่สัมพันธ์กับทักษะ.  https://sites.google.com/site/32548bodyfitness9/home/kar-thdsxb-smrrthphaph-thang-kay-thi-samphanth-kab-thaksa. 
สืบค้นเมื่อ 19 สิงหาคม 2565

– โรงเรียนรุ่งอรุณ.  (2556).  รายการทดสอบสมรรถภาพทางกาย.  https://www.roong-aroon.ac.th/?p=1144
สืบค้นเมื่อ 19 สิงหาคม 2565

เรียบเรียงข้อมูลโดย : นางสาวจุฑารัฐ  ไชยสาร  เจ้าหน้าที่บริหารงานทั่วไป  ฝ่ายวิทยาศาสตร์การกีฬาและสุขภาพ  ศูนย์ส่งเสริมวัฒนธรรมและการกีฬา

โครงการ/กิจกรรม

Facebook Comments Box

Related Images: