about

ประวัติความเป็นมา

ด้วยสภามหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ในการประชุมครั้งที่ 5/2565 เมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม 2565 มีมติอนุมัติการจัดตั้ง การรวม ยุบเลิก และปรับปรุงโครงสร้างการแบ่งส่วนงานของสำนักงานอธิการบดี สำนักวิชา สถาบัน ศูนย์ หรือหน่วยงานที่มีฐานะเทียบเท่า นั้น จากการประชุมดังกล่าวได้มีมติให้ จัดตั้งศูนย์ส่งเสริมวัฒนธรรมและการกีฬาขึ้น โดยกำหนดให้มีโครงสร้างหน่วยงาน จำนวน 4 ฝ่าย ได้แก่
1. ฝ่ายทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม
2. ฝ่ายสนับสนุนการเรียนการสอนและบริการ
3.ฝ่ายวิทยาศาสตร์การกีฬาและสุขภาพ
4. ฝ่ายบริหารทั่วไปและธุรการ

ฝ่ายทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม

ฝ่ายทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม เป็นฝ่ายงานที่ดำเนินงานภายใต้ พ.ร.บ. ของมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ มีการกำหนดแนวคิดในการจัดตั้งว่า“เป็นมหาวิทยาลัยที่มุ่งพัฒนาเศรษฐกิจควบคู่ไปกับวัฒนธรรม โดยให้มีการจัดการศึกษาทางด้านวัฒนธรรมศึกษา เพื่อดำรงรักษาและสืบทอดเอกลักษณ์ และมรดกทางจารีตประเพณีและวัฒนธรรมอันดีงามของชาติ” เดิมมหาวิทยาลัยได้จัดตั้งหน่วยงานดูแลพันธกิจด้านการทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม โดยเริ่มจากมีคณะกรรมการดำเนินงานทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรมขึ้นในปี พ.ศ. 2541 ต่อมาในปี พ.ศ. 2542 เปลี่ยนเป็น “โครงการอาศรมวัฒนธรรม” ครั้นวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2553 มีมติสภามหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ให้มีหน่วยงานด้านทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรมเป็นทางการชื่อ “อาศรมวัฒนธรรมวลัยลักษณ์” ปัจจุบันมีการปรับโครงสร้างหน่วยงานและมีการดำเนินงานภายใต้ “ฝ่ายทำนุบำรุงศิลปและวัฒนธรรม” มีหน้าที่รับผิดชอบในการพัฒนา ส่งเสริม สนับสนุนให้เกิดแหล่งเรียนรู้ด้านศิลปะและวัฒนธรรมที่มีชีวิต โดยผ่านกระบวนการศึกษาค้นคว้า วิจัย รวบรวมองค์ความรู้ด้านศิลปะและวัฒนธรรม ยกระดับโบราณสถานในเขตพื้นที่มหาวิทยาลัย ส่งเสริมและสนับสนุนงานกิจกรรมนักศึกษาด้านศิลปและวัฒนธรรมรวมถึงงานด้านการทำนุบำรุงศาสนาของมหาวิทยาลัย ตลอดจนทำนุบำรุง อนุรักษ์ ฟื้นฟู สืบสาน และพัฒนาศิลปะและวัฒนธรรมอย่างยั่งยืน และสร้างเครือข่ายความร่วมมือด้วยการบูรณาการของทุกภาคส่วนและการแลกเปลี่ยนทางศิลปะและวัฒนธรรมทั้งระดับท้องถิ่น ระดับชาติ และระดับนานาชาติ เพื่อขับเคลื่อนให้มหาวิทยาลัยเป็นศูนย์กลางด้านศิลปะและวัฒนธรรมภาคใต้ (Cultural hub)

ฝ่ายสนับสนุนการเรียนการสอนและบริการ

ฝ่ายสนับสนุนการเรียนการสอนและบริการ เดิมเป็นโครงการศูนย์กีฬาและสุขภาพ เริ่มเปิดให้บริการในปี พ.ศ.2548 และมีการปรับเปลี่ยนโครงสร้างงานโดยควบรวมกับส่วนกิจการนักศึกษา เป็นงานส่งเสริมกีฬาและสุขภาพ สังกัดส่วนกิจการนักศึกษา มีภารกิจในการบริหารจัดการศูนย์กีฬาและสุขภาพ จนในปัจจุบันมีการดำเนินงานภายใต้ฝ่ายสนับสนุนการเรียนการสอนและบริการ มีภารกิจในการสนับสนุนการเรียนการสอนหมวยวิชาศึกษาทั่วไป กลุ่มวิชากีฬาและสุขภาพ โดยนโยบายของมหาวิทยาลัยที่มอบหมายให้ภารกิจด้านการจัดการเรียนการสอนรายวิชากีฬาและสุขภาพเป็นภารกิจหลักของศูนย์ส่งเสริมวัฒนธรรมและการกีฬา  และยังคงดำเนินการภารกิจอื่นๆ เหมือนเดิม ได้แก่ การบริการสนามและอุปกรณ์กีฬา การดำเนินโครงการกิจกรรมส่งเสริมกีฬาและสุขภาพของมหาวิทยาลัย โดยผ่านกระบวนการประสานงาน วางแผนร่วมกับคณะกรรมการบริหารจัดการระหว่างสำนักวิชา หน่วยงานต่างๆ ที่มีการจัดการเรียนการสอนรายวิชากีฬาและสุขภาพ และดำเนินการจัดกิจกรรมส่งเสริมด้านกีฬาและสุขภาพ เพื่อส่งเสริมสุขภาพ นักศึกษา บุคลากร และประชาชน รวมทั้งรับผิดชอบควบคุม ดูแล บำรุงรักษา และบริการอุปกรณ์ สนาม อาคารกีฬา เพื่อขับเคลื่อนให้มหาวิทยาลัยเป็นศูนย์กลางด้านการกีฬาของภาคใต้

ฝ่ายวิทยาศาสตร์การกีฬา

ฝ่ายวิทยาศาสตร์การกีฬา เกิดขึ้นมาจากวิสัยทัศน์ แนวคิดและดำริของผู้บริหารที่เล็งเห็นคุณค่าการกีฬาและการพัฒนาสุขภาพโดยใช้หลักวิทยาศาสตร์การกีฬาและการบริหารจัดการกีฬา ขับเคลื่อนงานด้านส่งเสริมสุขภาพ ด้านการกีฬาและกิจกรรมทางกาย เป็นศูนย์กลางด้านวิทยาศาสตร์การกีฬาและการฟื้นฟูสุขภาพที่ครบวงจรและสมบูรณ์ที่สุดในภาคใต้และประเทศใกล้เคียง เป็นแหล่งฝึกประสบการณ์วิชาชีพสำหรับนักศึกษาหลักสูตรวิทยาศาสตร์การกีฬาและการออกกำลังกายหรือหลักสูตรที่เกี่ยวข้อง เป็นศูนย์ฝึกกีฬา เพื่อเสริมสร้างและฟื้นฟูสมรรถนะนักกีฬาในระดับชาติและนานาชาติ  รวมไปถึงเป็นศูนย์กลางการฟื้นฟูสุขภาพที่ครบวงจรและสมบูรณ์ที่สุดในภาคใต้และประเทศใกล้เคียง

ฝ่ายบริหารทั่วไปและธุรการ

ฝ่ายบริหารทั่วไปและธุรการ ซึ่งมีภารกิจหลักในการสนับสนุนและอำนวยความสะดวกในการปฏิบัติงานของศูนย์ส่งเสริมวัฒนธรรมและการกีฬา ขับเคลื่อนงานบริหารงานทั่วไปและธุรการ บริหารจัดการด้านแผนงานและงบประมาณของหน่วยงาน ดูระบบงานด้านเอกสารและสารบรรณ วางระบบและดำเนินงานจจัดซื้อจัดจ้าง จัดหาครุภัณฑ์  ตรวจสอบและดูการเงินและบัญชีของหน่วยงาน รวมถึงบริหารจัดการระบบให้บริการของศูนย์กีฬาและสุขภาพ ระบบการบริหารจัดการที่พักนักกีฬา งานกองทุนศูนย์ส่งเสริมวัฒนธรรมและการกีฬา เพื่ออำนวยความสะดวกในการปฏิบัติงานของฝ่ายต่าง ๆ ได้แก่ ฝ่ายทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม ฝ่ายสนับสนุนการเรียนการสอน ฝ่ายวิทยาศาสตร์การกีฬาและสุขภาพ ออกแบบและพัฒนาระบบงานอื่นๆ  ที่เกี่ยวข้อง  สนับสนุนงานด้านการสร้างเครือข่ายความร่วมมือ (MOU) ของหน่วยงาน รวมถึงหาแนวทางในการบริหารจัดการแก้ปัญหาและสนับสนุนให้เกิดการพัฒนางานต่าง ๆ อย่างต่อเนื่อง

“ศูนย์ส่งเสริมวัฒนธรรมและการกีฬา เป็นแหล่งเรียนรู้ด้านศิลปวัฒนธรรมที่ทันสมัย อนุรักษ์ส่งเสริม ถ่ายทอดภูมิปัญญา สืบสานประเพณีอันดีงามของไทย และในมิติของกีฬาและสุขภาพ ได้มีการพัฒนาศูนย์วิทยาศาสตร์การกีฬาเพื่อการสร้างเสริมสุขภาพและพัฒนาศักยภาพนักกีฬาสู่ความเป็นเลิศ มุ่งเน้นการวิจัย บริการวิชาการ และระบบงานบริการอย่างมืออาชีพ” เป็นศูนย์กลางการเรียนรู้ด้านศิลปวัฒนธรรม พัฒนาสุขภาพและการกีฬาสู่ความเป็นเลิศในระดับชาติ และนานาชาติ

Facebook Comments Box

Related Images: